สมาคมฯ แจ้งผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในการเก็บตัวทีมชาติไทย
สืบเนื่องจากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการดำเนินการตรวจเชื้อโควิด-19 ให้แก่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมชาติไทยทั้งชายและหญิง ตามมาตการตรวจหาเชื้อทุก 7 วัน ที่สมาคมฯ ร่วมกับทีมแพทย์ ดำเนินการในช่วงที่มีการฝึกซ้อม เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น ซึ่งผลการตรวจ มีนักกีฬาชายและเจ้าหน้าที่ชายที่อยู่ในแคมป์เก็บตัวรอบที่ 1 จำนวน 6 คน มีผลตรวจออกมาเป็นบวก แบ่งออกเป็นนักกีฬา 2 คน และเจ้าหน้าที่ 4 คน ขณะที่นักกีฬาหญิงและเจ้าหน้าที่หญิง มีผลตรวจเป็นบวก 2 คน แบ่งเป็นนักกีฬา 1 คน และเจ้าหน้าที่ 1 คนด้วยกัน ในเบื้องต้น ทางสมาคมฯ ได้ทำการประชุมร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลทีม ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลทีมได้วินิจฉัยว่า การรับเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังจากการตรวจรอบแรกที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน แม้จะมีการฉีดวัคซีนโดสแรกไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ตาม เพราะเกี่ยวกับระยะเวลาฟักตัวของเชื้อ ขณะเดียวกัน ยังได้วางแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยมีข้อสรุปจากที่ประชุม...
สมาคมฯ ชี้แจงกรณีพนักงานขับรถติดเชื้อไวรัสโควิด-19
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขอชี้แจงกรณีที่มีพนักงานขับรถประจำสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ รายหนึ่ง ซึ่งได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ได้เดินทางไปตรวจเชื้อ แยกต่างหากกับสตาฟฟ์โค้ช และ นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยชุดใหญ่กลุ่มแรก ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการตรวจเชื้อของนักกีฬาและผู้ฝึกสอนทุกคนไม่พบเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อย่างใด ในเบื้องต้น พนักงานคนดังกล่าว ไม่ใช่ผู้ขับรถบัสของทีมชาติ แต่จะคอยช่วยเหลือเกี่ยวกับขนย้ายสิ่งของต่างๆ ภายในแคมป์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม ด้วยเหตุนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงตัดสินใจให้เจ้าตัวไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ร่วมกับทีมด้วย ก่อนที่ผลจะปรากฎว่าเป็นคนเดียวที่ถูกตรวจพบเชื้อโควิด-19 ส่วน คณะนักกีฬา และ สตาฟฟ์โค้ชคนอื่นๆ ผลออกมาเป็นลบทั้งหมด ไม่พบเชื้อแต่อย่างใด และมีการใส่หน้ากากอนามัย ตลอดเวลาในระหว่างการตรวจ ในเบื้องต้น สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้พนักงานคนดังกล่าว หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะแยกไปกักตัว รอเข้าสู่กระบวนการของกระทรวงสาธารณสุขทันที และจะไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ในแคมป์ ตลอดระยะเวลาที่ ทีมชาติไทย เก็บตัวฝึกซ้อม...
สมาคมฯ – ไทยลีก พิจารณาให้มีการแข่งขันฟุตบอล ช้าง เอฟเอ คัพ นัดชิงชนะเลิศ และ M-150 แชมเปี้ยนชิพ รอบเพลย์ออฟ แบบปิด ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19
ช้าง เอฟเอ คัพ นัดชิงชนะเลิศ และ M-150 แชมเปี้ยนชิพ รอบเพลย์ออฟ จะทำการแข่งขันแบบปิด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และป้องกันเหตุที่จะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดจากสนามแข่งขัน หลังจากมีการหารือร่วมกันระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย, สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, บริษัท ไทยลีก จำกัด, ผู้สนับสนุน และสโมสรที่เกี่ยวข้อง ตามที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือมายังสมาคมกีฬาให้หลีกเลี่ยงหรือเลื่อนการจัดการแข่งขันที่มีการรวมตัวกันของประชาชนจำนวนมาก โดยอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโดยไม่จำเป็นในช่วงนี้ เว้นแต่ในกรณีที่สมาคมมีความจำเป็นต้องจัดการแข่งขันโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นั้น สืบเนื่องจากการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการ ช้าง เอฟเอ คัพ ประจำปี 2563 ได้ทำการแข่งขันมาถึงนัดชิงชนะเลิศในวันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน 2564 ระหว่างสโมสรสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด พบกับ สโมสรชลบุรี เอฟซี ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยสโมสรที่เป็นผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันดังกล่าวจะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนสโมสรของประเทศไทยไปแข่งขันฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม เช่นเดียวกับ กีฬาฟุตบอลลีกอาชีพรายการ...
ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาครฯ เปลี่ยนสนามเหย้าชั่วคราว 3 นัด
สโมสรไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี ขอย้ายสนามเหย้าไปแข่งขันที่ ราชคราม สปอร์ต คลับ เป็นการชั่วคราว 3 นัด เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในจังหวัด โดยทีมได้ย้ายไปเก็บตัวฝึกซ้อมที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีการระบาดระลอกใหม่ และมีการตรวจหาเชื้อก่อนทำการแข่งขัน ตามคู่มือการจัดแข่งขันแบบปิด ของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นที่เรียบร้อย สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดย ศบค. กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยสนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาคร ได้ถูกจัดตั้งเป็น ศูนย์ห่วงใยคนสาคร ทำให้ไม่สามารถใช้สถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพได้ สโมสรไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี จึงขอใช้สนามกีฬาราชคราม สปอร์ต คลับ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการชั่วคราวโดย บริษัท ไทยลีก จำกัด อนุญาตให้สโมสรไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี ทำการแข่งขัน ณ สนามดังกล่าว เบื้องต้น 3 นัดดังต่อไปนี้...
ศบค. เห็นชอบไทยลีกเริ่มแข่งปิดต้นเดือนก.พ.
ตัวแทนจากสมาคมฯ และไทยลีก ประชุมร่วมกับ ศบค. ชุดเล็ก และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ไทยลีกกลับมาแข่งขันเต็มรูปแบบได้ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในรูปแบบปิดเหย้า-เยือน โดยจะมีข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (แดงเข้ม) ซึ่งจะมีการแจ้งรายละเอียดให้แก่สโมสรในที่ประชุมวันศุกร์นี้ วันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และ บริษัท ไทยลีก จำกัด นำโดย กรวีร์ ปริศนานันทกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะกิจ พิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โดยมี พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ เป็นประธาน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงสาธารณสุข...
ไทยลีกจัดประชุมสโมสรไทยลีก 1-2 หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่
วันที่ 4 มกราคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้จัดการประชุมสโมสรสมาชิก ระดับไทยลีก 1-2 เพื่อหารือแนวทางจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการ “โตโยต้า ไทยลีก” “เอ็ม-150 แชมเปี้ยนชิพ” และฟุตบอลถ้วย “ช้าง เอฟเอ คัพ” ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ภาครัฐ กรุงเทพมหานครฯ และหลายจังหวัด มีการประกาศคำสั่งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโคิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสั่งปิดสถานที่ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เช่น การปิดสนามกีฬา สนามฝึกซ้อม รวมการกำหนดมาตรการป้องกันในการเดินทางข้ามจังหวัด ส่งผลให้ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) ทั้ง 28 จังหวัด อาจต้องเข้าสู่กระบวนการกักตัว 14 วัน ทำให้ก่อนหน้านี้มีการแข่งขันในบางนัดที่ต้องเลื่อนออกไป และหลายสโมสรไม่สามารถฝึกซ้อมแบบแบ่งทีม รวมถึงประสบปัญหาการเดินทางยามไปเล่นเป็นทีมเยือน...
เตรียมประชุมด่วน! “บิ๊กอ๊อด” พร้อมขยับเลื่อนวันปิดลีกได้ หากสถานการณ์โควิด น่าเป็นห่วง
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเมื่อวันที่ 2 ม.ค.64 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุว่า จะยกระดับมาตรการ โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 4 ม.ค. จะมีการขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด และถ้าขั้น 2 เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมการเดินทางข้ามจังหวัด ซึ่งจะส่งผลถึงการเดินทางไปแข่งขันของแต่ละสโมสร “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้กล่าว ถึงแนวทางการจัดแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1-3 ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะประชุมกำหนดแนวทาง ในวันจันทร์นี้ (4 ม.ค.) โดยตอนนี้ผมคงยังพูดอะไรไม่ได้ ต้องรอ คณะกรรมการไทยลีก จะนัดประชุมกัน ต้องรอมาตรการของรัฐบาล แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัว หากมีประกาศที่ส่งผลต่อการแข่งขันแล้ว ตนคิดว่าการเลื่อนแข่งขันเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งดูจากตารางเวลาแล้ว หากเลื่อนแข่งขัน แล้วจำเป็นต้องเลื่อนวันปิดลีกที่กำหนดไว้เดือน มี.ค. จริงๆ ก็ยังมีเวลาขยายออกไปสบายๆ 1-2 เดือน”...
“นิชิโนะ” นำทัพ “ช้างศึก” ตรวจโควิด-19 ก่อนเก็บตัวระหว่างวันที่ 7-11 ต.ค.นี้
วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 น. ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ฟุตบอลชายทีมชาติไทย ชุดใหญ่ เดินทางไปเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตามข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ก่อนที่จะเก็บตัวฝึกซ้อมช่วงฟีฟ่าเดย์ ระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2563 การตรวจครั้งนี้ นำโดย อากิระ นิชิโนะ หัวหน้าผู้ฝึกสอน พร้อมด้วยทีมงานสตาฟฟ์โค้ช และนักเตะ อาทิ เอกนิษฐ์ ปัญญา, พิธิวัตต์ สุขจิตธรรมกุล, นิติพงษ์ เสลานนท์ และเควิน ดีรมรัมย์ ต่างตบเท้าเข้ามาตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างครบครัน ขาดเพียง โชติภัทร พุ่มแก้ว วิงแบ็คขวาจาก สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ที่ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าจนต้องถอนตัวออกไป และ อากิระ...
แข้งสุพรรณบุรีเช็คโควิด-19 ก่อนคัมแบ็คหวดไทยลีก
ทัพนักเตะ สุพรรณบุรี เอฟซี เข้าตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และนับเป็นการเตรียมพร้อมก่อนกลับมาฟาดแข้งกันต่อในเกมที่ 5 ของศึกโตโยต้า ไทยลีก ฤดูกาล 2020 ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยเกมคัมแบ็คไทยลีกของ ช้างศึกยุทธหัตถี มีโปรแกรมเปิดสนาม สุพรรณบุรี สเตเดียม รับการมาเยือนของ นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ในวันเสาร์ที่ 12 กันยายนนี้ เวลา 19.00 น....
เปิดค่าใช้จ่ายผู้ตัดสินบอลไทยลีกต่อเกม
จากการแพร่การะจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบการทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั้งวงการฟุตบอล ทำให้วงการฟุตบอลไทยต้องประสบกับปัญหาวิกฤติทางการเงิน ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการลดรายจ่ายในเรื่องต่างๆในการแข่งขันฟุตบอล รวมทั้งค่าใช้จ่ายผู้ตัดสินฟุตบอลในทุกระดับ รวมถึงอาจตัดการใช้เทคโนโลยี VAR ที่ช่วยตัดสินออก แต่ถ้าหากสโมสรใดต้องการใช้ VAR ต้องเป็นคนจ่ายเอง ค่าใช้จ่ายประมาณ นัดละ 78,000 บาท ปัจจุบันรายได้ผู้ตัดสินฟุตบอลไทย ต่อ 1 เกม ดังนี้ไทยลีก 1 ผู้ตัดสิน 10,000 บาท ผู้ช่วยผู้ตัดสิน คนละ 8,500 บาท ผู้ตัดสินที่สี่ 4,700 บาท ผู้ตัดสิน VAR 8,500 บาท ไทยลีก 2 ผู้ตัดสิน 5,000 บาท ผู้ช่วยผู้ตัดสินคนละ 3,500 บาท ผู้ตัดสินที่สี่ 2,000 บาท...